5 นิสัยทางการเงิน ถ้าอยากรวยก็ลองทำดู!

1. หยุดมือเติบ
หลายคนใช้จ่ายเกินตัว บางคนรู้ตัว หลายคนไม่รู้
บางคนไม่ค่อยใช้เงินแต่พอมีโอกาสได้ใช้ที เรียกว่าซื้อเผื่อยันปีหน้าเลยหรือไง คือจัดเต็มมาก ชนิดที่ว่าอ้าปากค้างกันไปตามๆ กัน
สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเราสามารถเห็นชัดเจนมากในคนมือเติบ คือ ความอยาก.. อยากได้อันนี้อ่ะ อยากกินร้านนั้นอ่ะ อยากไปเที่ยวที่นี้อ่ะ ..เต็มไปหมด คิวจ่ายเงินยาวเป็นหางว่าว
ซึ่งมันก็ไม่ผิดนะครับ ทีนี้ผมเลยคิดว่าเราทุกคนควรจะมีบัญชีเงินใช้เล่นติดตัวกันเอาไว้ คือกันเงินส่วนหนึ่งจากรายได้เข้าบัญชีนี้ เอาไว้ซื้ออะไรก็ได้ที่อยากซื้อ
"มันจะได้ไม่รู้สึกขาดแคลน" แต่ต้องมีวินัยกันหน่อยนะครับ!

2. เก็บเงินเพิ่ม
ทุกวันนี้เราออมเงินกันน้อยมากครับ บางคนไม่มีเงินออมเลยด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งบางอันก็เข้าใจได้ แต่หลายอันยอมรับไม่ได้จริงๆ
"การออมเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่ง" ..ยังคงเป็นเรื่องจริงครับ
การออมส่งผลดีต่อชีวิตเราหลายอย่างครับ หนึ่งในนั้นคือการสร้างวินัย ..ออมน้อย ออมมากไม่สำคัญ ใครออมเร็วกว่าชนะ ..อย่าได้ดูถูกพลังของดอกเบี้ยทบต้นเชียว

3. หาช่องทางลงทุน
อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เลยจำเป็นมากที่เราจะต้องมีช่องทางการลงทุนเป็นของตัวเอง อย่างน้อยก็หนึ่งทางครับ..
กระแสเงินสดจะช่วยให้คุณรวย แต่ถ้าคุณกำลังมองหาความมั่งคั่ง "การลงทุนคือคำตอบ"

4. หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้
ถึงแม้หนี้จะแบ่งออกเป็นฝ่ายธรรมะกับอธรรม มีทั้งดีและไม่ดี แต่โดยส่วนตัวผมก็ยังแนะนำให้เราหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้อยู่ดีครับ
ทำไมน่ะหรอ ?
ก็หนี้มันไม่ได้การันตีอนาคตที่ดีของเราเลย แถมยังเป็นการเพิ่มภาระให้ชีวิตของเราอีก สิ่งที่ผมคิดว่าเราควรให้ความสนใจมากกว่า คือ การต่อยอดไอเดีย
สมัยนี้โลกมันเปิดกว้างครับ เราอยู่ในยุคที่เงินเริ่มหาง่ายขึ้นเรื่อยๆ ..คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหญ่ถึงจะสำเร็จ ก้าวเล็กๆ ของคุณก็เปลี่ยนแปลงชีวิตได้เช่นกัน

5. ดูแลสุขภาพ
คุณเชื่อมั้ย?.. ข้อนี้เป็นข้อที่หลายคนละเลยเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าไม่สำคัญ!
ความมั่งคั่งหรือความสำเร็จทางการเงิน ต้องอาศัย "วินัยสูง" ซึ่งแน่นอนเลยว่าถ้าร่างกายของคุณไม่พร้อม ต่อให้ใจพร้อมแค่ไหนก็ไปไม่ถึง
หรือบางที.. สิ่งที่คุณทุ่มทุนสร้างมาทั้งหมด ก็อาจเป็นได้แค่เพียง "ค่ารักษาพยาบาล"

Cr.Wealth Creation

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การยืนยันแบบเสียค่าใช้จ่ายบน Facebook และ Instagram ส่งผลต่อการตลาดออนไลน์!

เบื่องานหรือเบื่อคนเอาจริงๆ

Demand-side platform (DSP) คืออะไร