4 แนวคิดเอาชนะความรู้สึก เวลาคุณเจอเรื่องราวแย่ๆ!

1. มันก็ไม่ได้แย่ไปหมดทุกอย่างหรอก
ในข่าวร้ายย่อมมีข่าวดี บางคนมองเห็น แต่หลายคนไม่ ..นั่นซิทำไมล่ะ ?
มันขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความสนใจในเรื่องไหนมากกว่ากัน เวลาเจอเรื่องแย่ ทุกคนหัวเสีย ไม่มีใครอารมณ์ดีได้ตลอดเวลาครับ ..นั่นเป็นความจริง
หลายคนที่ล้มแล้วลุกเร็ว ไม่ใช่ว่าเขาเป็นฮีโร่ มีพรสวรรค์ในการปรับตัวมาแต่เกิด เพียงแค่เขารู้ว่า "เรื่องไหนที่ควรค่าแก่การเสียเวลา" ..เท่านั้นเองครับ

2. ไม่ใช่เรา เขาไม่รู้(จริงๆ)หรอก
คำแนะนำ คำปลอบใจ หรือแม้แต่สายตาเหยียดยามที่ดูถูกเรา มันก็เป็นแค่เพียงการกระทำที่แสดงผ่านมุมมองของคนอื่นครับ
จะมีความสำคัญกับคุณมากน้อยแค่ไหน ก็คงเป็นคุณที่ต้องตัดสินใจ..
คำบางคำ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่ใจ ถ้ามันไม่ได้ส่งเสริมเรา ก็โยนทิ้งไปเลยครับ เสียเวลาที่จะมานั่งรับรู้ ..จังหวะนี้คุณต้องใช้เวลาที่มีให้คุ้มค่ามากที่สุด แก้ไขปัญหาสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน

3. ชีวิตไม่ได้จบลงที่ความล้มเหลวในครั้งเดียว
เราไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าเราต้องพบเจอกับความล้มเหลวถึงกี่ครั้งกว่าจะได้จับมือกับชัยชนะ ..แต่นั่นก็ไม่ได้สำคัญ!
เกมชีวิตไม่ได้เล่นกันครั้งเดียว มันไม่ได้มีด่านเดียว ชีวิตเป็นซีรี่ย์มหากาพย์ที่ต้องดูกันยาวๆ ..คำแนะนำของผม คือ ก่อนจะลงเล่นเกม วิเคราะห์ให้ดีก่อนว่าด่านนี้ ตัวร้ายในเกมนี้ มันควรค่าแก่การเสียเวลาของเราแล้วหรือยัง ?
เพราะถ้าไม่.. พลาดไป คือ ความเสียใจ เสียเวลา
แต่ถ้าใช่.. พลาดไป คือ การเรียนรู้
The show must go on and also on the right stage!

4. ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีเหตุผลเสมอ
คุณเชื่อในคำพูดของ Steve Jobs ที่ว่า "Connecting the dot." มั้ยครับ ?
“You can't connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future.”
บางทีเหตุผลที่เรากำลังสับสนก็อาจจะเป็นเพราะว่าเรายังมองไม่เห็น เราไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันจะสามารถเชื่อมต่อกับจุดที่เราเคยผ่านมาได้อย่างไร
หลายคนลืมไปว่า "การลากเส้นต่อจุด มันจะไม่สิ้นสุดถ้าเราไม่ยกมือขึ้นจากกระดาษ" ..นั่นก็แปลว่า
ขอแค่คุณไม่ยอมแพ้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นยังคงมีเหตุผลเสมอ..

Cr.Wealth Creation

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การยืนยันแบบเสียค่าใช้จ่ายบน Facebook และ Instagram ส่งผลต่อการตลาดออนไลน์!

เบื่องานหรือเบื่อคนเอาจริงๆ

Demand-side platform (DSP) คืออะไร